เทศการปล่อยแสง 3 คิด/ทำ/กิน
ตอน เด็กฉลาด ชาติเจริญ
ณ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ TCDC
เทศการปล่อยแสง 3 คิด/ทำ/กิน
ตอน เด็กฉลาด ชาติเจริญ
เป็นนิทรรศการที่ดีนิทรรศการหนึ่ง
ที่รวบรวมความคิดและผลงานจบการศึกษาปี 2552
ของนิสิต นักศึกษา ปวช. ปวส. ปริญญาตรี และปริญญาโท
จากทุกสาขาวิชาทั่วประเทศ
ให้มาได้ดูได้ชมกัน ทำให้เราได้เห็นงานดีดีหลายๆงาน
จากเทศการปล่อยแสง 3
1. COLOR
พัชรี ติวะวงศ์
สถาปัตยกรรมศาสตร์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
think-ing method in packaging design
- pencils
- crayons
- cloring pencils
- water colors
- markers
- poster colors
สิ่งที่ชอบในงานชิ้นนี้คือ
แนวความคิดของการออกแบบ crayons
คือ ใช้การออกแบบเพื่อหลอกตาว่าสิ่งที่เห็นนั้น
คือต้นไม้จริงหรือสีเทียน
โดยส่วนสำคัญคือรูปทรงของบรรจุภัณฑ์ที่มีลักษณะของการลดทอนรูปร่าง
การนำเสนอที่คล้ายพืชต้นไม้เล็กๆ
ซึ่งตัวแท่งสีเทียนเมื่อผ่านการใช้ไประยะเวลาหนึ่ง
สีแต่ละสีจะมีความสูงที่ไม่เท่ากัน
คล้ายการเจริญเติบโตของพืชเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
เป็นผลให้เกิดความหลากหลาย
ให้ความเพลิดเพลินจาการใช้งานผลิตภัณฑ์
เหมือนการปลูกต้นไม้ที่ดูแล้วเพลิดเพลิน
เบิกบาน และไม่ว่าจะเป็น
pencils, cloring pencils, water colors,
markers และ poster colors
ต่างก็มีแนวความคิดที่ดีใน
การออกแบบสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้
การเลือกสี การใช้สีบนบรรจุภัณฑ์
สร้างความโดดเด่นให้กับตัวผลงาน
สิ่งที่ไม่ชอบในผลงานชิ้นนี้คงจะเป็น
เรื่องลายละเอียดเล็กๆน้อยๆของตัวงาน
การพับกล่อง ที่ดูไม่เนียบเท่าที่ควร
2. PLEARN STATION
กฤติยา ปิยะอรุณ
สถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
concept : เกมส์บันไดงู
เป็นเกมส์ที่ใช้เป็นสื่อการสอนสำหรับเด็กได้ทุกวัย
แสดงถึงความสัมพันธ์กันในส่วนต่างๆ
มีการเชื่อมต่อกันระหว่างพื้นที่ที่อยู่ไกลกัน
ทั้งขึ้นและลง โดยที่การไปยังอีกพื้นที่นึงอาจใช้เส่นทางปกติไปได้เช่นกัน
สามารถแบ่งประเภทของพื้นที่ได้ 3 แบบคือ
บันได - จะขึ้นไปอยู่ในพื้นที่ที่สูงกว่า
งู - จะตกลงมาพื้นที่ที่ต่ำกว่า
ช่องปกติ - เดินไปตามลำดับแรก
รายละเอียดโครงการ : ประกอบด้วย 3 ส่วนหลักได้แก่
-Play Station
-Learn Station
-Family Station
สิ่งที่ชอบในงานชิ้นนี้ คือ แนวคิดของงาน
เด็กที่จะโตขึ้นมาได้ต้องได้รับการฝึกฝนทักษะ
ได้รับพัฒนาการที่ดี และเกมส์ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่สร้างทักษะ
และพัฒนาการของเด็กควบคู่กันไป
สิ่งที่ไม่ชอบในงานชิ้นนี้ คือ การจัดวางของงานดูไม่น่าสนใจ
3. PREGNACY JEWELRY
สุปรียา เตชะธนะวัฒน์
สถาปัตยกรรมศาสตร์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
Pregnancy jewelry
เพื่อสร้างเสริมความสุข การยอมรับ และความมั่นใจให้แก่หญิงมีครรภ์
โดยใช้เครื่องประดับ ซึ่งเป็นวัตถุที่ช่วยส่งเสริมทางด้านจิตใจแก่หญิงมีครรภ์
เนื่องจากการมอบเครื่องประดับเป็นการแสดงให้เห็นถึงความรัก
การเอาใจใส่ และความรู้สึกยินดีของบุคคลรอบข้าง
ทำให้หญิงมีครรภ์รู้สึกเป็นสุข และสามารถเผชิญต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆได้
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลดีต่อความสุขและสุขภาพของทารกในครรภ์
สิ่งที่ชอบในงานนี้คือ เครื่องประดับที่เจ้าของผลงาน
ได้ออกแบบมีความน่ารักและเหมาะสมกับการแสดงถึงความรัก
ที่ทำให้หญิงมีครรภ์รู้สึกเป็นสุข การใช้โทนสีก็ทำให้รู้สึกอบอุ่นตามไปด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น